ไข้หวัดนก

โรคไข้หวัดนกในสัตว์

โรคไข้หวัดนกในสัตว์ Animal Bird Flu

โรคติดเชื้อหรือโรคอื่นๆ หลายๆ โรค ที่ติดต่อมาจากสัตว์ (zoonosis) สัตว์ที่มีอาการป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกส่วนใหญ่จะเป็นไก่และเป็ด ทั้งที่เลี้ยงในฟาร์มและในบ้าน ส่วนสัตว์ปีกอื่นๆ จะเป็นเพียงพาหะหรือสัตว์รังโรค คือมี influenza A (H5 หรือ H7) อยู่ในตัวโดยที่สัตว์เหล่านั้นไม่มีอาการป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะหรือ สัตว์รังโรคเหล่านี้ ได้แก่ นกป่า, เช่น นกเป็ดนํา นกทะเล นกอพยพ และนกตามธรรมชาติ นานาชนิด นอกจากสัตว์ปีกก็มี สิงโตทะเล แมวน้ำ เสือ และปลาวาฬ

อาการและอาการแสดงของโรคไข้หวัดนกในสัตว์

1. ไม่มีอาการเลย (asymptomatic)

2. มีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย (mild infection)

3. มีอาการป่วยรุนแรงมาก ได้แก่ สัตว์ซึม ไม่กินอาหาร ซูบผอม ขนยุ่งฟู ไอ จาม หายใจลำบาก หน้าบวม ถ้าเป็นสัตว์ปีกจะพบว่าหงอนและเหนียงบวม มีสีคล้ำ มีอาการทางประสาท และท้องเสีย ผลผลิตไข่ลดลงอย่างชัดเจน ถ้าอาการรุนแรง จะหยุดไข่ รายที่รุนแรงสัตว์อาจตายกะทันหันโดยไม่แสดงอาการ หรือตายหลัง จากป่วยเพียงไม่กี่ชั่วโมง ในกลุ่มสัตว์ที่มีอาการรุนแรง อัตราตายอาจสูงถึงร้อยละ 100 โดยสัตว์ที่ตายมักจะพบเลือดคั่งในกล้ามเนื้อ เยื่อชุ่มบุที่ตามีเลือดคั่งอย่างมาก และพบจุดเลือดออก พบการบวมน้ำที่ชั้นใต้ผิวหนังบริเวณหัวและคอ พบน้ำมูก น้ำลายในช่องจมูกและช่องปาก พบเมือกในช่องหลอดลมมากผิดปกติ มีจุดเลือด ออกที่กระดูกอก (sternum) ด้านใน ในช่องท้อง และหรือทั่วทั้งตัว

4. มีเลือดคั่งที่ไต บางครั้งพบสารยูเรตเกาะติดที่ท่อไต

5. รังไข่มีเลือดออกและเสื่อมเล็กน้อย

6. ผิวเยื่อบุกระเพาะพักมีเลือดออก โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อกับกึ๋น

7. กึ๋นมีเลือดออกและเยื่อบุหลุดลอก พบจุดเลือดออกที่เยื่อน้ำเหลืองในชั้นของเยื่อบุลำไส้

PBFD โรคไวรัสปากและขน

PBFDโรคไวรัสปากและขนในนกแก้ว

PBFDโรคไวรัสปากและขนในนกแก้ว(PBFD : Psittacine beak and feather disease)

เนื่องในโอกาสที่วันนี้เป็นวันนกแห่งชาติ (National Bird Day) พวกเราเลยจะมาแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่รู้จักกับโรคโรคไวรัสจงอยปากและขนในนกแก้วกันค่ะ

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัส Circovirus ชนิดที่ก่อโรครุนแรงคือ PBFD-1 โดยจะพบมากในนกแก้วเป็นหลัก โดยพบรายงานครั้งแรกในนกกระตั้ว แต่จริงๆพบในนกหลายชนิดเช่น กาล่า มอลัคคั่น แอฟริกันเกรย์ ในนกท้องถิ่นอเมริกาเกิดน้อยกว่าแถบเอเชีย

อาการของนก


มีความหลากหลาย เกิดความผิดปกติของการสร้างขน เล็บ ปาก และเซลล์ที่กำลังพัฒนา เช่น เม็ดเลือด และสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง 3 ปี บ้างก็เป็นเรื้อรัง แต่บางตัวก็ตายไปโดยไม่ทราบสาเหตุอย่างรวดเร็ว

PBFD

การติดต่อ


ผ่านทางฝุ่นขน และสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ของนก เช่น มูลนก น้ำตา น้ำลาย จะไปปนเปื้อนในอาหาร น้ำ ตามสิ่งแวดล้อมที่น้องอาศัย กรงที่น้องอยู่ อุปกรณ์ที่เลี้ยงน้อง และจะติดต่อผ่านทางการกิน หรือ หายใจเข้าไป โดยตัวที่ป่วยจะเป็นพาหะ และแพร่เชื้อได้ตลอด

ความรุนแรงของอาการแบ่งเป็น 4 รูปแบบ

 แบบเฉียบพลันมาก (peracute form) พบมากในลูกนก นกลูกป้อน
โดยจะทำให้นกมีการย่อยอาหารช้าลง ส่วนใหญ่จะเป็นในกระตั้ัวและแอฟริกันเกรย์ อาการที่พบได้แก่ กระเพาะพักไม่เคลื่อน ปอดอักเสบ ถ่ายเหลว อาเจียน น้ำหนักลด และเสียชีวิตในที่สุด มักจะไม่พบความผิดปกติของคนจึงมักถูกมองข้าม

 แบบเฉียบพลันกับระบบเลือด (acute hematologic form) มักพบหลังหย่าลูกป้อน
โดยนกที่ป่วยจะมีค่าเม็ดเลือดแดงที่ต่ำ (anemia) ค่าเม็ดเลือดขาวต่ำ (leukopenia) หรือเม็ดเลือดต่ำทุกระบบ (Pancytopenia) นกจะมีอาการอ่อนแรงและติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย โดยจะไม่มีอาการทางขนเช่นเดียวกัน อัตราตาย 100%

 แบบเฉียบพลันกับระบบผิวหนัง (acute dermatologic form) มักพบในช่วงอายุ 30 วัน
จะพบการสร้างขนที่ผิดปกติ เช่น ขนขึ้นไม่สมบูรณ์ ขนแตกหักง่าย คดงอ จะมีการงอกของขนก้านแข็ง แทนขนอุย พบจุดเลือดออกตามบริเวณรากขน และพบอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น กระเพาะไม่เคลื่อนตัว หรือเคลื่อนตัวช้า พบในกระตั้ว แอฟริกันเกรย์ เลิฟเบิร์ด

 แบบเรื้อรัง (chronic form) พบได้ทุกช่วงอายุ พบบ่อยที่สุด
มักพบในนกที่อายุน้อยกว่า 3 ปี โดยจะมีอาการหลักที่ขนชัดเจนกว่าทุกแบบ เช่นขนร่วงทั้งตัว ขนเจริญผิดรูป พบรอยขีดตามเส้นขน (stress line) ขนอ่อนแอแตกหักง่าย รากขนเป็นกระเปาะ โดยอาจจะไม่ตายง่ายเว้นแต่ว่ามีโรคแทรกซ้อน

ขนจะร่วงจากขนอุยก่อน จากนั้นร่วงที่ขนปกคลุมร่าง จนในที่สุดไปยังขนที่แข็งแรง เช่นปีกและหาง จงอยปากและเล็บผิดปกติ แผลในปาก

การตรวจวินิจฉัย

ตรวจจากเซลของขน และปาก แต่ปัจจุบัน การตรวจด้วย PCR จะมีความไวและจำเพาะ แล้วแต่ชนิดการตรวจ

นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายๆเช่น Psittacosis , PDD

การรักษา

รักษาตามอาการ
ไม่มียาโดยตรงเพื่อกำจัดไวรัสชนิดนี้ 

 แต่จะเป็นการเสริมภูมิ เพื่อให้ภูมิของน้องจัดการกับไวรัส เพราะฉะนั้นการรักษาจะเป็นในแนวทางรักษาตามอาการ ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และทานอาหารให้เพียงพอ

:
ทำอย่างไรดีเมื่อผลตรวจน้องเป็นบวก 

คุณหมอจะเก็บตัวอย่างส่งตรวจแลป real-time PCR เพื่อเช็คว่าน้องมีเชื้อ PBFD หรือไม่ ถ้าน้องมีเชื้อจะให้ผลตรวจเป็นบวก

:
ในกรณีที่ตรวจสุขภาพทั่วไปเพื่อคัดกรองโรคในนกที่ยังไม่แสดงอาการและผลตรวจเป็นบวก

 อาจเป็นภาวะมีเชื้อแต่นกยังมีภูมิดี ป้องกันตัวเองได้ ซึ่งจะแนะนำให้ทำการตรวจซ้ำในอีก 90 วัน

ถ้าผลเป็นลบแสดงว่านกมีภูมิและได้กำจัดเชื้อไปแล้ว แต่หากผลตรวจยังเป็นบวก ให้สงสัยว่าเป็นนกที่ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ

 อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติจะแนะนำให้ทำการตรวจซ้ำทุก 90 วัน ในนกที่ไม่แสดงอาการจะทำการรักษาแบบตามอาการร่วมไปกับการเสริมภูมิคุ้มกัน 

(supportive treatment)
:

️ Remark: หากเลี้ยงน้องหลายตัวรวมกัน ควรแยกตัวป่วยออกจากกลุ่ม รวมถึงทำความสะอาดกรงและของใช้ทันที โดยสามารถใช้สารฟอกขาว (sodium hypochlorite) เจือจาง 1:50 ทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วล้างออกได้ 

แน่นอนว่าในวันนกแห่งชาตินี้ 

 เว็ทอะซูมีของขวัญดีๆมาฝาก สำหรับบ้านไหนที่เลี้ยงนกและสนใจพาเด็กๆมาตรวจสุขภาพ หากจองแพ็คเกจตรวจสุขภาพล่วงหน้าในเดือนนี้ และทำการนัดหมายไม่เกิน 31 มค 68 สามารถรับคูปอง 10% เพื่อใช้ในวันตรวจสุขภาพได้เลยนะค้า

IMG_5594s

เมื่อนกป่วย รีบพามาหาหมอก่อนสายไป

เมื่อนกป่วย รีบพามาหาหมอ

วันนี้มีบทความที่น่าสนใจ จากสัตวแพทย์ท่านหนึ่ง ที่มีประสบการณ์ การดูแลนกมาบอกกันจ้า เนื่องจากนก (จริงๆก็ทุกสัตว์แหละ) ไม่สามารถบอกหรือคุยกับเราได้ เมื่อนกป่วย ดังนั้น การสังเกตอาการและพฤติกรรมเค้าทุกวันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ใครมีอะไรเพิ่มเติมฝากเพิ่มเติมไว้ใน facebook ของเราได้นะจ๊าบ

อ่ะ เรื่องของเรื่องคือ สพญ.ท่านนั้นคับข้องใจมาก เนื่องจากเจ้าของนก มักพานกแก้วมาในสภาพที่ จะต้องบอกว่า สายมาก เยินมากแล้ว และแก้ไขอะไรไม่ได้ บางทีคือติดเชื้อไวรัส โรคขน แบคทีเรีย ตับโต มะเร็ง หรือมีปัญหาโรคปอด ปัญหาการหายใจ

  • ปกตินกที่ร่าเริง เราจะเห็นว่าจะมีการเกาะคอน ไม่ค่อยลงมาเดินพื้น
  • จะเดินไปมาไม่ค่อยนิ่ง
  • ไม่ค่อมตัวค้อมตัว หัวก้ม
  • ไม่เอาหัวซุกปีก มีการไซร้ขน
  • ขนไม่รุงรังหรือไม่ปล่อยเนื้อตัว
  • อุจจาระไม่ซีด หรือไม่เขียวปี๋ หรือมีเลือดปน
  • ทานอาหารอยู่สม่ำเสมอ
  • ไม่มีน้ำมูกจามฟึดฟัด สายตาสดใส
  • ไม่แทะขนตัวเอง
  • ไม่ยืนพองขนหนาวๆ

ดังนั้น นกป่วยก็จะมีอาการดังนี้

  • ยืนพองขน ไม่เกาะคอน ลงมาเดินพื้น
  • เหงา ซึม ไม่กิน
  • อุจจาระเขียวปี๋ หรือซีดไปเลย หรือเลือดปน
  • ยืนท่าแปลกๆหลังค่อมๆ
  • พองขน ไม่ไซร้ขนเอง เอาหัวซุกปีก
  • น้ำมูก จามฟึดๆ หรือตาแฉะ ไม่สดใส
  • ผอมลง หมดแรง อันนี้จะระยะสุดท้ายแล้ว

ถ้าเราเล่นกับนกทุกวัน เราต้องรู้แหละ ในกรณีที่แตกต่างจากที่ว่า แม้แต่แค่ครึ่งวันที่นกไม่ค่อยเล่นกับเรา ก็ ให้มาหาหมอ หรือโทรปรึกษาได้เลย โดยเฉพาะถ้ามีหมอที่ทำทางด้านนี้ exotic เค้าพร้อมเสมอ เพราะมาช้าไปอีกสองวัน อาจตายได้เลย

ขอบคุณ birdtoday.com